Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ข่าวสารและบทความ

ติดตามข่าวสารและบทความจากเรา

อ่านสักนิด ก่อนทำแบรนด์สบู่ : ข้อมูลช่วยตัดสินใจการลงทุน เพิ่มความมั่นใจในธุรกิจ

สบู่ เป็นสินค้าอุปโภคที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าสิ้นเปลือง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ไม่มีใครใช้สบู่อาบน้ำ ตั้งแต่เด็กเล็ก จนถึงผู้สูงวัย ล้วนแล้วแต่ต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดทิ้งสิ้น

จากภาพจะเห็นได้ว่า ส่วนแบ่งทางการตลาดของสบู่นั้น มีมากถึง 10,000 ล้านบาทเลยทีเดียว การลงทุนทำธุรกิจ ในกลุ่มสินค้านี้ ค่อนข้างเติบโตได้ง่าย และมีความมั่นคงในระยะยาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทำการตลาดของแต่ละแบรนด์สินค้าด้วย 

หากเสียแต่ว่า เจ้าของแบรนด์สินค้านั้นๆ ต้องการเจาะกลุ่มลูกค้าที่บริโภคสบู่ในกลุ่มใด เรามีสัดส่วนของแต่ละกลุ่มให้พิจารณาดังนี้ 

จากภาพจะเห็นได้ว่า กลุ่มสบู่สมุนไพรมีการเติบโตขึ้น ในขณะสินค้าสบู่กลุ่มอื่นๆ มีการเติบโตที่ลดลง 

เราจะมาวิเคราะห์ สบู่ 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ 

– สบู่เพื่อความสวยงาม มูลค่าตลาด  4,000 ล้านบาท

  เช่นสบู่กลูต้า, สบู่เน้นผิวขาว, สบู่สิว เป็นต้น เป็นอีกกลุ่มที่กระแสค่อนข้างแรง และตลาดเติบโตไว ถึงแม้ว่าในปีนี้ มีอัตราการเติบโตที่ลดลง แต่ยังคงเป็นกลุ่มตลาดที่ใหญ่มากอยู่ หากเจ้าของแบรนด์สามารถดึงส่วนครองตลาดนี้มาได้เพียง 0.1% มูลค่าถึง 4,000,000 บาท (สี่ล้านบาท) เลยทีเดียว

การทำการตลาดจะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้แบรนด์เป็นที่ยอมรับ และเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น เจ้าของแบรนด์ต้องศึกษาการตลาด โดยใช้ทุกๆ ช่องทางให้คุ้มค่า ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางหลากหลายให้เลือกทำการโฆษณา ทั้งฟรีและเสียเงิน เริ่มแรกอาจต้องใช้ทุนในการโปรโมทพอสมควร เพิ่มให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย 

– สบู่สมุนไพร มูลค่าตลาด  1,600 ล้านบาท

  เป็นกลุ่มตลาดที่น่าจับตามอง เนื่องจากปัจุบันประชากรโลกให้ความสำคัญกับสินค้าที่ทำมาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะกลุ่มสมุนไพร ซึ่งประเทศไทยเองเป็นประเทศที่มีสมุนไพรที่โดดเด่นหลากหลายชนิด ทำให้สินค้าด้านสมุนไพรไทยนั้น ได้รับการยอมรับ และนำมาเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้มากขึ้น ผู้บริโภคสบู่จากกลุ่มต่างๆ หันมานิยมใช้มากขึ้น 

สุดท้ายนี้ เจ้าของแบรนด์ควรเลือกกลุ่มของลูกค้าก่อนว่า เราควรวางสินค้าไว้ในตลาดกลุ่มไหน มีเป้าหมายเพียงใด วางแผนการตลาด จัดหาแหล่งเงินทุน เพิื่อเตรียมพร้อมให้กับธุรกิจ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ขึ้นไป 

ธุรกิจขายครีม เริ่มต้นอย่างไรให้ยอดขายดีทำกำไรสูง หมดห่วงเรื่องธุรกิจเจ๊ง 2023

“อยากทำแบรนด์ขายครีม เริ่มต้นตอนนี้ยังทันไหม?” คำถามยอดฮิตภายในใจใครหลาย ๆ คนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจขายครีม ขายสกินแคร์ แต่กลัวธุรกิจจะไปได้ไม่สวย ทำกำไรได้ไม่ดี เพราะในฉะนั้นในบทความนี้ เพียว เดอริมา ในฐานะโรงงานผลิตครีมที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน จะขอแชร์เกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับแน้มโน้มการเติบโตในอุตสาหกรรมเสริมความงามประเภทครีม และสกินแคร์ให้ทุกคนได้รู้ พร้อมแถมเทคนิคทำแบรนด์ครีมอย่างไร ให้ติดตลาด กำไรดีไม่มีตกที่ทุกคนไม่ควรพลาด

GMP มาตรฐานกระบวนการผลิต คืออะไร

มาตรฐาน GMP เป็นมาตรฐานที่เรามักจะคุ้นหน้าคุ้นตาคุ้นหูกันมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ยา เครื่องสำอางค์ หรือแม้กระทั่งอาหาร ซึ่ง GMP หรือที่ย่อมาจากคำว่า Good Manufacturing Practice เนี่ย จริงๆ แล้วคืออะไรกันแน่ และหลักการและกฏเกณฑ์มีอะไรบ้าง มาดูกัน

มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) คือ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต หรือเป็นเครื่องหมายในการรับรองคุณภาพการผลิตของผู้ผลิต ทำให้สามารถผลิตอาหาร, ยา หรือเครื่องสำอางค์ได้อย่างปลอดภัย และทำให้ผู้บริโภคมั่นใจด้วยว่าสินค้าที่ออกจากผู้ผลิตนี้มั่นใจได้

GMP เป็นมาตรฐานที่เรามักจะคุ้นหน้าคุ้นตาคุ้นหูกันมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ยา อาหาร หรือแม้กระทั่งเครื่องสำอางค์ แต่อาจจะมีข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงบ้าง เช่น เครื่องสำอางค์ต้องดู GMP เครื่องสำอางค์ ด้วย

หลักการของ GMP จะมีเกณฑ์คลอบคลุมตั้งแต่สถานที่ที่ประกอบการ อาคาร จนไปถึงกระบวนการผลิตสินค้า นับตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มการวางแผลผลิต วัตถุดิบ การจัดเก็บ และรวมไปถึงการขนส่งไปจนถึงมือผู้บริโภค เพื่อให้ทุกๆกระบวนการผลิตมีความปลอดภัย ได้คุณภาพ ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน